เกินความคิด- การถอดเสียงวิดีโอ

“โลกภายในโลกภายนอก” ตอนที่ 4

ชีวิต อิสรภาพ และการไล่ตามความสุข
พวกเราดำรงชีพโดยไล่จับความสุข “อยู่ที่นั่น”
เสมือนกับว่ามันเป็นสินค้า
พวกเราเป็นทาสของความอยากและความกระหายของตนเอง
ความสุขไม่ใช่สิ่งที่สามารถไล่จับ
หรือซื้อได้เหมือนชุดสูทราคาถูก
นี่คือมายา
ภาพลวงตา
การละเล่นที่ไม่มีที่สิ้นสุด
ในประเพณีพุทธ
สังสารวัฏหรือวงเวียนอันไม่มีที่สิ้นสุดแห่งทุกข์
ถูกทำให้เป็นอมตะโดยความกระหายในความพอใจ
และความรังเกียจในความเจ็บปวด
ฟรอยด์เรียกสิ่งนี้ว่า “หลักแห่งความพอใจ”
ทุกสิ่งที่เราทำคือความพยายามที่จะสร้างความพอใจ
เพื่อให้ได้ในสิ่งที่เราต้องการ
หรือเพื่อผลักบางสิ่งอันไม่พึงประสงค์ที่เราไม่ต้องการ
แม้แต่สิ่งมีชีวิตที่เรียบง่ายอย่างโปรโตซัวน้ำจืด (paramecium) ก็ทำอย่างนี้
มันเรียกว่าการตอบสนองต่อสิ่งเร้า
ไม่เหมือนโปรโตซัวน้ำจืด มนุษย์มีทางเลือกมากกว่า
พวกเรามีอิสระที่จะคิด และนั่นคือแก่นของปัญหา
มันคือความคิดเกี่ยวกับสิ่งที่เราต้องการนั่นเอง ที่อยู่นอกเหนือการควบคุมในปัจจุบันนี้
สภาวะกลืนไม่เข้าคายไม่ออกในสังคมปัจจุบัน คือสิ่งที่พวกเราค้นหาเพื่อเข้าใจโลก
โดยไม่ใช้ความรู้สึกตัวภายในอันล้าสมัย
แต่โดยใช้การวัดปริมาณและคุณภาพที่พวกเรามองเห็น
ว่าเป็นโลกภายนอกโดยใช้วิธีการและแนวคิดแบบวิทยาศาสตร์
การคิดนำมาเพียงการคิดที่มากขึ้นและคำถามที่มากขึ้น
พวกเราค้นหาเพื่อที่จะรู้จักพลังด้านในสุดซึ่งสร้างโลก
และชี้นำวิถีทางของมัน
แต่พวกเราเข้าใจว่าแก่นสารนี้เป็นสิ่งนอกตัว
ไม่ใช่สิ่งมีชีวิตที่เป็นเนื้อแท้ภายในธรรมชาติของเรา
นักจิตวิทยาผู้โด่งดังชื่อ คาร์ล ยุง พูดว่า
“บุคคลผู้มองภายนอกนั้นฝัน บุคคลที่มองภายในนั้นตื่น”
มันไม่ผิดที่ต้องการที่จะตื่น
สิ่งที่ผิดคือการค้นหาความสุขจากภายนอก
ในเมื่อมันสามารถพบได้เฉพาะจากภายใน
วันที่ 4 ตุลาคม 2010 ที่การประชุมเทคโคโนมี (Techonomy conference) ที่ทะเลสาบทาโฮ แคลิฟอเนีย
เอริก ชมิดต์ ผู้จัดการบริษัทกูเกิล (Google) ได้พูดถึงตัวเลขสถิติที่น่าตกใจ
ปัจจุบันนี้ทุกสองวันพวกเราผลิตข้อมูลจำนวนมากเทียบเท่ากับที่ผลิต
ตั้งแต่ยุครุ่งสางแห่งความศิวิไลซ์มาจนถึงปี 2003
ตามที่ชมิดต์พูด
นั่นคือข้อมูลประมาณ 5 เอกซะไบต์
ไม่เคยมีมาก่อนในประวัติศาสตร์มนุษย์ที่มีการคิดมากมาย
และมีความสับสนอลหม่านมากมายเกิดขึ้นบนโลกอย่างนี้
มันเป็นไปได้ไหมที่ทุกครั้งที่เราคิดถึงคำตอบของปัญหาหนึ่ง
เราได้สร้างปัญหาเพิ่มขึ้นจากเดิมเป็นสอง ?
ความคิดเหล่านี้มีอะไรดี ?
หากมันไม่นำพาไปสู่ความสุขที่ยิ่งใหญ่กว่า ?
พวกเรามีความสุขมากขึ้นหรือ ?
สงบมากขึ้น ?
เบิกบานขึ้นอันเป็นผลเนื่องมาจากความคิดเหล่านี้ ?
หรือมันแยกพวกเรา ?
ตัดขาดพวกเราจากประสบการณ์ชีวิตที่ลึกและมีความหมายยิ่งกว่า
การคิด การแสดงออก และการกระทำ
ต้องถูกทำให้สมดุลด้วย “การเป็น”
ไม่ว่าอย่างไร พวกเราคือผู้เป็นอยู่อย่างมนุษย์ ไม่ใช่ผู้กระทำอยู่อย่างมนุษย์
พวกเราต้องการความเปลี่ยนแปลง…และต้องการความเสถียรในเวลาเดียวกัน
หัวใจของพวกเราถูกตัดขาดจากวงก้นหอยแห่งชีวิต
ซึ่งเป็นกฎแห่งความเปลี่ยนแปลง
เมื่อจิตที่คิดของพวกเราได้นำพาเราไปยังความเสถียร
ความปลอดภัย และการทำให้ประสาทสัมผัสต่างๆสงบลง
ด้วยแรงดึงดูดที่ไม่ปกติ พวกเราดูการฆ่า สึนามิ
แผ่นดินไหวและสงคราม
พวกเราพยายามอย่างต่อเนื่องที่จะครอบครองจิตของตนโดยทำให้มันเต็มไปด้วยข่าวสาร
รายการทีวีหลั่งไหลมาจากทุกอุปกรณ์ที่เป็นไปได้
เกมส์และปริศนาต่างๆ
การส่งข้อความตัวอักษร
และเรื่องไม่เป็นสาระทุกเรื่องเท่าที่เป็นไปได้
พวกเราปล่อยให้ตนเองดื่มด่ำกับ
ภาพใหม่ๆที่หลั่งไหลมาอย่างไม่มีที่สิ้นสุด
วิธีใหม่ๆที่จะยั่วเย้าประสาทสัทผัสและทำให้มันสงบลง
เมื่อถึงเวลาแห่งการสะท้อนภายในอย่างเงียบสงบ
หัวใจของเราอาจบอกเราว่าชีวิตมีมากกว่าความเป็นจริงที่พวกเราเป็นอยู่ในปัจจุบัน
ว่าพวกเราดำรงชีวิตอยู่ในโลกแห่งปีศาจผู้หิวโหย
ความต้องการอันไม่มีที่สิ้นสุด และไม่เคยพอใจ
พวกเราสร้างความอลหม่านแห่งข้อมูลบินว่อนไปทั่วโลก
เพื่ออำนวยความสะดวกในการคิด
ส่งเสริมความคิดเกี่ยวกับการกู้โลก
เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นเพียงเพราะจิตสร้างมันขึ้นมา
การคิดได้สร้างความยุ่งเหยิงทั้งมวลที่พวกเรากำลังเป็นอยู่ในปัจจุบัน
พวกเราทำสงครามกับโรคภัยไข้เจ็บ ศัตรู และปัญหา
สิ่งที่ขัดแย้งกันเองก็คือสิ่งใดที่เธอต่อต้านมันจะคงอยู่
ยิ่งเธอต่อต้านมัน มันก็ยิ่งเข้มแข็งขึ้น
เหมือนการออกกำลังกล้ามเนื้อ
ความจริงเธอกำลังทำให้สิ่งที่เธอต้องการกำจัดแข็งแกร่งขึ้น
ถ้าอย่างนั้น อะไรจะเป็นสิ่งทดแทนการคิดได้ ?
มีกลไกอื่นใดที่มนุษย์สามารถใช้ดำรงชีพในโลกใบนี้ได้ ?
ในขณะที่วัฒนธรรมตะวันตกในหลายศตวรรษที่ผ่านมามุ่งไปที่การสำรวจทางกายภาพ
โดยใช้ความคิดและการวิเคราะห์
วัฒธรรมโบราณอื่นๆได้พัฒนาเทคโนโลยีเพื่อสำรวจความว่างภายในขึ้นด้วยความช่ำชองเสมอกัน
มันคือการสูญเสียความเชื่อมโยงกับโลกภายในของพวกเรา
ซึ่งสร้างความไม่สมดุลให้เกิดขึ้นบนโลกใบนี้
คติโบราณที่ว่า “รู้จักตนเอง”
การตอบคำถามที่ว่า “ฉันคือใคร ?”
ไม่ใช่เรื่องผิวเผินที่จะอธิบายโดยสิ่งที่เขียนอยู่ในนามบัตรของเธอ
ในพุทธศาสนา เธอไม่ใช่สิ่งที่บรรจุอยู่ในความรู้สึกตัวของเธอ
เธอไม่ได้เป็นเพียงการชุมนุมกันของความคิดหรือความเห็นต่างๆ
เพราะเบื้องหลังความคิดทั้งมวล ยังมีคนหนึ่งซึ่งคอยสังเกตความคิดอยู่
โจทย์ว่าด้วยการ “รู้จักตนเอง” คือโกอานของเซ็น
ในที่สุดจิตก็จะหมดกำลังในการหาคำตอบ
เสมือนหมาวิ่งไล่งับหางตนเอง
ที่ต้องการหาคำตอบ
ความจริงที่ว่าเธอเป็นใครนั้นไม่จำเป็นต้องมีคำตอบ
เพราะทุกคำถามถูกสร้างขึ้นมาจากจิตที่ถือตัวถือตน
เธอไม่ใช่จิตของเธอ
ความจริงไม่ได้อยู่ในคำตอบที่เพิ่มขึ้น แต่อยู่ในคำถามที่น้อยลง
อย่างที่ โจเซฟ แคมพ์เบลล์ กล่าวไว้ว่า
“ฉันไม่เชื่อว่าผู้คนกำลังหาความหมายของชีวิต
มากพอกับที่กำลังหาประสบการณ์แห่งการมีชีวิต”
เมื่อพระพุทธเจ้าถูกถามว่า “คุณเป็นอะไร ?”
“ฉันตื่นอยู่”
มันแปลว่าอะไร ที่ว่าตื่นอยู่ ?
พระพุทธเจ้าไม่ได้พูดโดยตรง
เพราะการเบ่งบานของแต่ละชีวิตแตกต่างกัน
แต่ท่านได้กล่าวขึ้นมาสิ่งหนึ่ง
ศาสนาหลักทุกศาสนามีชื่อเรียกสำหรับสภาวะแห่งการตื่น
สวรรค์
นิพพาน
หรือโมกษะ
จิตที่เงียบสงบคือทั้งหมดที่เธอจำเป็นต้องมีเพื่อตระหนักรู้ในธรรมชาติแห่งกระแสนั้น
สิ่งอื่นทั้งมวลจะเกิดขึ้นเมื่อจิตเธอเงียบสงบ
ในความสงบนิ่ง พลังงานภายในจะตื่น
และทำงานโดยปราศจากความพยายามใดๆในส่วนของเธอ
อย่างที่เมธีเต๋ากล่าวว่า “ชี่เกิดตามความรู้สึกตัว”
ด้วยความนิ่ง บุคคลจะเริ่มได้ยินปัญญาแห่งพืชและสัตว์
เสียงกระซิบเงียบในความฝัน
แล้วบุคคลจะเรียนรู้กลไกลึกลับ
เมื่อความฝันเหล่านั้นกลายมาเป็นรูปแบบวัตถุ
ในคัมภีร์เต๋าเต๋อจิง การใช้ชีวิตเช่นนี้เรียกว่า “เว วู เว”
“ทำ โดยไม่ทำ”
พระพุทธเจ้ากล่าวถึง “ทางสายกลาง”
อริสโตเติลอธิบายค่าเฉลี่ยสีทอง
ซึ่งเป็นค่ากลางระหว่างสุดโต่งสองอย่าง ว่าเป็นทางแห่งความงดงาม
ไม่พยายามมากเกินไป แต่ก็ไม่น้อยเกินไปด้วย
หยินและหยางในความสมดุลอันบริบูรณ์
ข้อคิดของเวทานต์ (คัมภีร์พระเวท) เกี่ยวกับมายาหรือภาพลวงตา
นั่นคือพวกเราไม่ได้รับรู้สิ่งแวดล้อมอย่างที่ตัวมันเป็น
แต่รับรู้ภาพสะท้อนของมัน ซึ่งสร้างขึ้นโดยความคิด
แน่นอนว่าความคิดของเธอทำให้เธอได้รับรู้โลกอันสั่นไหวโดยวิธีใดวิธีหนึ่ง
แต่ความสงบภายในของเราจำเป็นต้องไม่ขึ้นอยู่กับเหตุการณ์ภายนอก
ความเชื่อในโลกภายนอก โดยไม่ขึ้นอยู่กับสิ่งที่หยั่งรู้ในใจ
คือพื้นฐานของวิทยาศาสตร์
แต่ประสาทสัมผัสของเรานำพาเพียงข้อมูลทางอ้อมมาให้เรา
ความเข้าใจของพวกเราเกี่ยวกับโลกกายภาพที่สร้างขึ้นโดยความคิดนี้
ได้ถูกกรองผ่านประสาทสัมผัสเสมอ และเพราะอย่างนั้นเองจึงไม่สมบูรณ์เสมอ
มีสนามแห่งการสั่นสะเทือนหนึ่งเดียวที่ซ่อนอยู่ใต้ประสาทสัมผัสทั้งมวล
ผู้คนที่อยู่ในสภาวะ “ซินเนสทีเซีย (synesthesia)”
บางครั้งได้รับประสบการณ์ของสนามแห่งการสั่นสะเทือนนี้ในวิถีต่างๆกัน
ผู้ที่อยู่ในสภาวะซินเนสทีเซียสามารถเห็นเสียงเป็นสีหรือรูปร่างต่างๆ
หรือรับรู้ในประสาทสัมผัสชนิดหนึ่งกับอีกชนิดหนึ่งควบคู่กันไป
คำว่าซินเนสทีเซียมาจากการสังเคราะห์ (synthesis) หรือการผสมประสาทสัมผัสเข้าด้วยกัน
จักระทั้งหลายกับประสาทสัมผัสเป็นเสมือนดังปรึซึม (prism)
กลั่นกรองอนุกรมแห่งการสั่นสะเทือน
ทุกสิ่งในจักรวาลกำลังสั่นสะเทือน
แต่ในอัตราเร็วและความถี่ที่ต่างกัน
ดวงตาของฮอรัสสร้างขึ้นมาจากสัญลักษณ์หกอย่าง
แต่ละอย่างเป็นตัวแทนของประสาทสัมผัสหนึ่งชนิด
เหมือนระบบพระเวทโบราณ
ความคิดถูกพิจารณาให้เป็นประสาทสัมผัสชนิดหนึ่ง
“ความคิด” ถูกรับรู้ในขณะเดียวกับที่ “ความรู้สึก” ถูกรับรู้บนร่างกาย
พวกมันผุดขึ้นมาจากแหล่งกำเนิดความสั่นสะเทือนอันเดียวกัน
การคิดเป็นเพียงเครื่องมือ
หนึ่งในประสาทสัมผัสทั้งหก
แต่พวกเรากลับยกมันขึ้นไปอยู่ในสถานะอันสูงส่ง
จนกระทั่งพวกเราอธิบายตนเองด้วยความคิด
ความจริงที่ว่าพวกเราไม่ตระหนักรู้ว่าการคิดเป็นเพียงหนึ่งในหกประสาทสัมผัส
ช่างโดดเด่นเสียเหลือเกิน
การที่พวกเราหมกมุ่นอยู่ในความคิดที่พยายามจะอธิบายความคิดว่าเป็นประสาทสัมผัส
ก็เหมือนกับการบอกปลาเกี่ยวกับน้ำ
น้ำ น้ำอะไร ?
ในอุปนิษัท (แห่งคัมภีร์พระเวท) มีคำกล่าวว่า
ไม่ใช่สิ่งนั้นที่ตามองเห็นได้ แต่เป็นที่นั่นที่ใช้ตามองเห็นได้
รู้จักสิ่งนั้นก็เป็นพรหมาผู้เป็นนิรันดร์ และก็ไม่ใช่สิ่งที่ผู้คนที่นี่นิยม
ไม่ใช่สิ่งนั้นที่หูสามารถได้ยิน แต่เป็นที่นั่นที่สามารถใช้หูได้ยิน
รู้จักสิ่งนั้นก็เป็นพรหมาผู้เป็นนิรันดร์ และก็ไม่ใช่สิ่งที่ผู้คนที่นี่นิยม
ไม่ใช่สิ่งนั้นที่คำพูดทำให้กระจ่างได้ แต่เป็นที่นั่นที่ใช้คำพูดทำให้กระจ่างได้
รู้จักสิ่งนั้นก็เป็นพรหมาผู้เป็นนิรันดร์ และก็ไม่ใช่สิ่งที่ผู้คนที่นี่นิยม
ไม่ใช่สิ่งนั้นที่จิตคิดได้ แต่เป็นที่นั่นที่ใช้จิตคิดได้
รู้จักสิ่งนั้นก็เป็นพรหมาผู้เป็นนิรันดร์ และก็ไม่ใช่สิ่งที่ผู้คนที่นี่นิยม
ในทศวรรษล่าสุดที่ผ่านมา ความก้าวหน้าได้เกิดขึ้นในงานวิจัยด้านสมอง
นักวิทยาศาสตร์ค้นพบ “การยืดหยุ่นของสมอง (neuroplasticity)”
ซึ่งเป็นคำศัพท์สื่อถึงแนวคิดที่ว่าการเชื่อมเป็นสายทางกายภาพของสมอง
จะเปลี่ยนไปตามความคิดที่เคลื่อนที่ผ่านมัน
อย่างที่นักจิตวิทยาชาวแคนนาดา โดนัลด์ เฮบบ์ ได้สรุปไว้ว่า
“เซลประสาทที่ติดไฟขึ้นพร้อมกัน เชื่อมเป็นสายเดียวกัน”
เซลประสาทมักเชื่อมเป็นสายเดียวกันเมื่อบุคคลอยู่ในสภาวะที่มีความสนใจตั้งมั่น
ความหมายของประเด็นนี้ก็คือมันเป็นไปได้ที่จะกำกับประสบการณ์ส่วนตัวแห่งความเป็นจริงของเธอ
ตามตัวหนังสือ หากความคิดของเธอจัดอยู่ในจำพวกความกลัว ความกังวล ความเครียด และความเป็นลบ
นั่นหมายถึงเธอได้สร้างสายสำหรับเพาะความคิดเหล่านั้นให้เจริญงอกงาม
หากเธอกำกับความคิดของเธอให้อยู่ในจำพวกความรัก
ความเมตตา ความกตัญญู และความรื่นเริง
เธอก็ได้สร้างสายสำหรับการเกิดซ้ำของประสบการณ์เหล่านั้น
แต่เราจะทำอย่างนั้นได้อย่างไรในเมื่อพวกเราถูกห้อมล้อมด้วยความรุนแรงและความทุกข์
นี่เป็นความหลงผิดหรือความคิดที่พึงปรารถนา ?
การยืดหยุ่นของสมองไม่ใช่สิ่งเดียวกับความเข้าใจในยุคใหม่ (new age)
ที่เธอสร้างความเป็นจริงของเธอขึ้นมาด้วยการคิดบวก
ที่จริงมันเป็นสิ่งเดียวกับที่พระพุทธเจ้าสอนเมื่อ 2500 ปีที่แล้ว
วิปัสสนาภาวนา หรือการทำสมาธิลึก
สามารถถูกอธิบายได้ว่าเป็นการกำกับความยืดหยุ่นของสมองด้วยตนเอง
เธอยอมรับความเป็นจริงของเธออย่างที่มันเป็น
โดยเธอรับรู้มันที่ระดับรากของประสาทสัมผัส
ที่ระดับการสั่นสะเทือนหรือพลังงาน
โดยปราศจากอคติหรืออิทธิพลของความคิด
ผ่านความสนใจตั้งมั่นที่ระดับรากของความรู้สึกตัว
การเชื่อมสายแห่งการหยั่งรู้ความเป็นจริงที่แตกต่างทั้งมวลก็ถูกสร้างขึ้น
พวกเราดำเนินการกลับหลังเกือบตลอดเวลา
พวกเราปล่อยให้ความคิดเห็นเกี่ยวกับโลกภายนอกกำหนดรูปร่างของระบบประสาทเรา
แต่ความสงบภายในของเราจำเป็นต้องไม่ขึ้นอยู่กับเหตุการณ์ภายนอก
สิ่งแวดล้อมไม่ใช่สาระ
มีเพียงสภาวะความรู้สึกตัวของฉันเท่านั้นที่เป็นสาระ
การทำสมาธิในภาษาสันสกฤตหมายถึงการเป็นอิสระจากการตรวจวัด
อิสระจากการเปรียบเทียบทั้งมวล
อิสระจากการเป็นทั้งปวง
เธอไม่ได้กำลังพยายามที่จะเป็นสิ่งอื่นใด
เธอตกลงปลงใจกับสิ่งที่เป็น
วิธีผุดขึ้นเหนือความทุกข์แห่งขอบเขตทางกายภาพ
ก็คือการอ้าแขนรับมัน
คือการตอบตกลงกับมัน
ดังนั้นมันจึงเป็นบางอย่างที่อยู่ในเธอ
มากกว่าที่เธอจะเป็นบางอย่างที่อยู่ในมัน
บุคคลจะอยู่อย่างไร
ความรู้สึกตัวจึงจะไม่ขัดแย้งกับสิ่งที่บรรจุอยู่ภายในมัน ?
บุคคลจะทำให้หัวใจแห่งความทะยานอยากอันคับแคบว่างเปล่าได้อย่างไร ?
มันต้องมีการปฏิวัติองค์รวมในด้านความรู้สึกตัว
การยกระดับอย่างถึงรากถึงโคน จากทิศทางสู่โลกภายนอกมาสู่โลกภายใน
มันไม่ใช่การปฏิวัติที่ดำเนินการด้วยความตั้งใจหรือความพยายามเพียงเท่านั้น
แต่มันเป็นการยอมจำนนด้วย
ยอมรับความเป็นจริงอย่างที่มันเป็น
รูปพระคริสต์เปิดใจ ชี้นำอย่างแรงกล้าสู่ความคิดเห็นที่ว่า
บุคคลต้องเปิดใจให้กับความเจ็บปวดทั้งมวล
บุคคลต้องยอมรับทั้งหมด หากเขาจะดำรงอยู่อย่างเปิดกว้างต่อแหล่งกำเนิดแห่งวิวัฒนาการ
นี่ไม่ได้หมายความว่าเธอกลายเป็นมาโซคิสต์ (masochist)
เธอไม่ได้แสวงหาความเจ็บปวด
แต่เมื่อความเจ็บปวดมาถึง ซึ่งมันเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้
เธอเพียงยอมรับความเป็นจริงง่ายๆอย่างที่มันเป็น
แทนการทะยานอยากในความเป็นจริงอย่างอื่น
ชาวฮาวายมีความเชื่ออย่างยาวนาน
ว่าหัวใจเป็นสิ่งที่เราสามารถใช้เรียนรู้ความจริง
หัวใจมีปัญญาเฉพาะตัวอย่างเป็นเอกเทศพอๆกับที่สมองมี
ชาวอียิปต์เชื่อว่าเป็นหัวใจ ไม่ใช่สมอง
ที่เป็นแหล่งกำเนิดปัญญาของมนุษย์
หัวใจได้รับการพิจารณาให้เป็นศูนย์กลางของจิตวิญญาณและบุคลิกภาพ
เป็นหัวใจนี่เองที่สิ่งศักดิ์สิทธิ์ใช้พูดผ่าน
ถ่ายทอดความรู้แห่งหนทางที่แท้จริงให้กับชาวอียิปต์โบราณ
แผ่นกระดาษพาพิรัสนี้แสดงถึง “การชั่งน้ำหนักหัวใจ”
มันเป็นการดีที่จะก้าวเข้าสู่ชีวิตหลังความตายด้วยหัวใจที่เบา
มันหมายถึงเธอได้ใช้ชีวิตมาแล้วอย่างดี
สภาวะหนึ่งเดียวอันเป็นสากลหรือต้นแบบ
ที่บุคคลได้ประสบในกระบวนการแห่งการปลุกศูนย์กลางของหัวใจ
คือการมีประสบการณ์ในพลังงานส่วนบุคคล ในฐานะของพลังงานแห่งจักรวาล
เมื่อเธออนุญาตให้ตนเองรู้สึกถึงความรักนี้
กลายเป็นความรักนี้
เมื่อเธอเชื่อมต่อโลกภายในของเธอกับโลกภายนอก
เมื่อนั้นทั้งหมดคือหนึ่งเดียว
ทำอย่างไรบุคคลจึงจะได้รับประสบการณ์เสียงเพลงแห่งการโคจรของดวงดาว ?
ทำอย่างไรหัวใจจึงจะเปิด ?
รามานะ มหาฤษี กล่าวว่า
“พระเจ้าอยู่ในเธอ อย่างที่เป็นเธอ
และเธอไม่จำเป็นต้องทำสิ่งใด เพื่อให้ตระหนักรู้ในพระเจ้าหรือตระหนักรู้ในตนเอง
มันคือความจริงและสภาวะธรรมชาติของเธอ
ขอเพียงล้มเลิกการค้นหา
หันเหความสนใจของเธอมาสู่ภายใน
และสละจิตของเธอให้แก่ตัวตนเดียว
ที่ฉายรัศมีอยู่ในหัวใจแห่งความมีอยู่เป็นอยู่อย่างยิ่งของเธอ
เพื่อให้สิ่งนี้เป็นประสบการณ์ที่มีชีวิตอยู่ในปัจจุบันขณะของเธอ
การสำรวจตนเองเป็นวิธีที่ตรงและรวดเร็ว
เมื่อเธอทำสมาธิและสังเกตประสาทสัมผัสภายใน
ความมีชีวิตอยู่ภายในของเธอ
แรงแห่งการเปลี่ยนแปลงนี้คือการผุดขึ้นและจากไป
ในรูปของการเปลี่ยนแปลงพลังงาน
ระดับที่บุคคลเข้าร่วมหรือรู้แจ้งได้
คือระดับที่บุคคลได้รับความสามารถ
ที่จะปรับตัวเข้าสู่ทุกขณะเวลา
หรือที่จะเปลี่ยนสภาพกระแสแห่งมนุษย์ที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
ทั้งในด้านสิ่งแวดล้อม ความเจ็บปวด และความพอใจ
ให้กลายเป็นความผาสุก
ลีโอ ตอลสตอย นักเขียนนวนิยายเรื่อง “สงครามและสันติภาพ (War and Peace)” กล่าวว่า
“ทุกคนคิดที่จะเปลี่ยนแปลงโลก
แต่ไม่มีใครคิดที่จะเปลี่ยนแปลงตนเอง”
ดาร์วินกล่าวถึงลักษณะเฉพาะสำคัญที่สุดสำหรับการรอดชีวิตของสปีชีส์ต่างๆว่า
ไม่ใช่ความเข้มแข็ง หรือความเฉลียวฉลาด
แต่เป็นความสามารถในการปรับตัวเข้ากับความเปลี่ยนแปลง
บุคคลควรชำนาญในการปรับตัวสู่ความเปลี่ยนแปลง
นี่เป็นการตีความหมายคำสอนพระพุทธเจ้าเรื่อง “อนิจจา” ในแง่มุมหนึ่ง
ทุกสิ่งผุดขึ้นมาและจากไป
เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
ความทุกข์เกิดเพียงเพราะเราไปยึดติดกับรูปแบบพิเศษอย่างใดอย่างหนึ่ง
เมื่อเธอเชื่อมโยงอยู่กับส่วนที่ทำหน้าที่สังเกตเห็นของเธอเอง
ด้วยความเข้าใจในอนิจจา
นักบุญ นักปราชญ์ และโยคีในประวัติศาสตร์
อธิบายเป็นเสียงเดียวกันถึงการรวมเป็นหนึ่งเดียวอันศักดิ์สิทธ์ว่าเกิดขึ้นในใจ
ไม่ว่าจะเป็นงานเขียนของนักบุญยอห์นแห่งไม้กางเขน
บทกวีของรูมี
หรือการสอนแบบตันตระของอินเดีย
คำสอนทั้งหมดที่แตกต่างกันนี้ล้วนพยายามแสดงถึงความลึกซึ้งอันลึกลับของหัวใจ
ในหัวใจมีการรวมตัวกันของศิวะและศักติ
การแทรกซึมความเป็นบุรุษเพศเข้าไปในวงก้นหอยแห่งชีวิต
และความยอมจำนนแห่งสตรีเพศต่อการเปลี่ยนแปลง
การสังเกต
และการยอมรับอย่างไร้เงื่อนไขสำหรับสิ่งทั้งมวลที่เป็นอยู่
เพื่อเปิดหัวใจของเธอ
เธอต้องเปิดตัวเองสู่ความเปลี่ยนแปลง
การดำรงชีพอยู่ในโลกที่ดูเหมือนจับต้องได้
เต้นรำไปกับมัน
ข้องเกี่ยวกับมัน
ใช้ชีวิตเต็มบริบูรณ์
รักเต็มบริบูรณ์
แต่ก็รู้ว่ามันไม่ถาวร
และท้ายที่สุดรูปแบบทั้งมวลล้วนหลอมละลายและเปลี่ยนแปลง
ความผาสุกเป็นพลังงานที่ตอบสนองต่อความสงบนิ่ง
มันมาจากการทำความรู้สึกตัวต่อสิ่งที่บรรจุอยู่ทั้งหมดให้ว่างเปล่า
สิ่งที่บรรจุอยู่ในพลังความผาสุกอันเกิดจากความสงบนิ่งนี้คือความรู้สึกตัว
เป็นความรู้สึกตัวชนิดใหม่ของหัวใจ
เป็นความรู้สึกตัวที่เชื่อมโยงกับทั้งหมดที่เป็นอยู่
ที่จะมีความสุข
ตอนที่ 4 เหนือการคิด
ข้อมูลข่าวสารใหม่ๆ
ได้ถูกแทนที่ด้วยความต้องการประสบการณ์ในโลกภายนอกแห่งรูปแบบทั้งหลาย
มันเป็นเพียงเอกลักษณ์ของความถือตัวถือตน
ปริศนาที่ตอบไม่ได้
วัตถุประสงค์
ท่านตอบอย่างเรียบง่าย
มันคือการสิ้นสุดของความทุกข์
ว่าเป็นเสมือนทางนำไปสู่การตรัสรู้
อย่างที่มันเป็นจริงๆ
ที่จริงเธอกำลังสังเกตความเปลี่ยนแปลง
เปลี่ยนแปลง
ความผาสุกปรากฎขึ้นในหัวใจ